Open Access BASE2018

Good Governance Model of Sub-district Administration Organization Krainok Kongkrailat District Sukhothai Province ; รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the model of good governance of Sub-district Administration Organization in KraiNok, Kong KraiLat District, Sukhothai Province, 2) To study the opinions on the good governance of Krai Nok Sub-district Administration Organization in Kong Krailat District Sukhothai Province By classified by personal factors 3) To study guidelines for the development of a good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization in Kong Krailat District Sukhothai Province according to good governance principles. This research used the mixed methods between the quantitative and qualitative research. For quantitative research was a survey conducted with 370 persons from 4,444 persons of the population. Simple random sampling was applied by using Taro-Yamane. Data were collected by the questionnaires and were analyzed by using Statistical Package for the social science research. The statistic tools for analyzing the common data of population were Frequency and Percentage. The statistic tools to analyze the opinions' level toward the strategy to improve the quality of life of people in the Sub-district Administration Organization in KraiNok, Kong Krai Lat District, Sukhothai Province were Frequency, Percentage, Means, Standard Deviation and tested the hypothesis by describing the personal factors. F-test and T-test were used for testing of variance as well as pair-wise comparison. repeated-measure One Way ANOVA and Least Significant Difference were used for analyzing the data. For Qualitative research, In-Depth Interview with 14 key informants was used to analyze the data and using the context clues technique by descriptive content analysis. The results revealed that 1) In research on the good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization Kong Krailat District Sukhothai Province By McKinsey's 7-S model, the people's opinion on the good governance model found that the overall view was at a high level (= 4.07, S.D. = 0.568) when considered In each aspect, namely the structure of the strategy, the personnel system, the skills leader and the value found that the opinions of the people were at a high level in all aspects 2) The results of people's opinion towards good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization Kong Krailat District Sukhothai Province classified by personal factors such as gender, age, education, occupation and income, found that people with different incomes there were different opinions with statistically significant at 0.01 level. Therefore, accepting research hypotheses. For gender, age, education and occupation was different, affecting opinions on good governance model not different, therefore rejected the research hypothesis. 3) good governancemodel of Krai Nok Sub-district Administration Organization outside the district Kong Krailat, Sukhothai Province According to good governance principles, such as 1) There should be an analysis of the current situation of the organization before creating a plan every time to bring weaknesses, strengths, opportunities, and threats in accordance with the problems and various environmental conditions that are constantly changing 2) The executives and the head of the department should decentralize decision-making and allow personnel to participate in proposing new ideas or ideas in policy formulation. Which will lead to more efficient and effective operations 3) Provide funding personnel development is always In order to increase skills and efficiency, knowledge and ability to perform duties in the duty better by encouraging continuous development of human resources 4) Should add enough personnel to work and should set up an evaluation system to measure the performance of personnel seriously and continuously to help identify weaknesses in the administration that will be useful for further development and 5) There should be more public relations work. ; การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหาร ส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 370 คน จากประชากรทั้งหมด 4,852 คนสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.997 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 14 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยตัวแบบ 7-S ของแมคคินซีย์ความคิดของประชาชนเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.07, S.D. = 0.568) เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน คือ ด้านโครงสร้างด้านกลยุทธ์ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านผู้นำด้านทักษะ และด้านค่านิยม พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลคือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย 3. รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีได้แก่ 1) ควรมีการวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันขององค์การก่อนการจัดทำแผนงานทุกครั้งเพื่อนำผลวิเคราะห์ที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็งโอกาสและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับปัญหาและสภาวะแวดล้อมด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2) ฝ่ายบริหารและหัวหน้าส่วนงานควรกระจายอำนาจการตัดสินใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการกำหนดนโยบาย อันจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3) จัดหาทุนสนับสนุน การพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลย่างต่อเนื่อง 4)ควรเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และควรจัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อวัดผลการทำงานของบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อช่วยชี้จุดอ่อนในการบริหารงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 5) ควรมีการประชาสัมพันธ์การทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

Sprachen

Thai

Verlag

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Problem melden

Wenn Sie Probleme mit dem Zugriff auf einen gefundenen Titel haben, können Sie sich über dieses Formular gern an uns wenden. Schreiben Sie uns hierüber auch gern, wenn Ihnen Fehler in der Titelanzeige aufgefallen sind.