Open Access BASE2018

The Human Resource Management according to the Principles of Raja-sangahavatthu of the Administrators of Local Administrative Organizations in the Area of Thapkhlo District, Phichit Province ; การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the state of the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu (virtues making for national integration) of the administrators of local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province, 2) to study the relationship to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province, and 3) to study the problems, obstacles and suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province. This research applied the Mixed Methods Research consisting of the qualitative and quantitative research. The sample was 141 staffs at the municipality and local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province from 216 staffs with the table of Taro Yamane. The tools of the research were questionnaire with the 0.968 of reliability and in-depth interview from the 11 key informants. The analysis of data used Statistical Package for Social Science. The statistics for analysis data used Frequencies, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. Results of the Research Overall, the state of the human resource management of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province was at the high level ( =3.65). When considering each aspect, it was found that the human resource management in the planning was at the highest level ( =3.78). Then, it was the human resource management in the maintaining ( =3.65). However, the human resource management in the developing was at the lowest level ( =3.57). Moreover, the staffs had the opinion to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province in the research was at the high level ( =3.54). When considering each aspect, it was found that the human resource management in the Purisamedha (shrewdness in the promotion and encouragement of government officials) was at the highest level ( =3.66). Then, it was the human resource management in the Sassamedha (shrewdness in agricultural promotion) ( =3.60). However, the human resource management in the Vachapeyya (kindly and convincing speech) was at the lowest level ( =3.32). The relationship to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province found that overall, the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the positive relationship at the low level (r = 0.249**). When considering each aspect, it was found that the human resource management according to Sassamedha of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the positive relationship at the middle level. The human resource management according to Vachapeyya of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the negative relationship at the low level. Therefore, the research hypothesis was accepted. The problems, obstacles and suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province found that the administrators did not plan the man power for the future. The staffs were recruited from the intimates. The administrators did not give the opportunities to the people having the knowledge and capability in the recruitment of the staffs. Some local administrators did not promote the staffs for the training. The suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province were that the administrators should set the frame of the staffs suitable to the work by planning the man power continuously every year. The recruitment of the staffs should be announced, have the public relations thoroughly and specify the criterion by considering the knowledge and capability and recruiting the people within the organization and the other people. Moreover, the administrators should promote the staffs for the training and development. ; การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเทศบาลและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จำนวน 141 คน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 216 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 11 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในลำดับมาก ( = 3.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านการวางแผน มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด ( = 3.78) รองลงมาคือ ด้านการธำรงรักษา ( =3.65) และน้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนา ( =3.57) ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวม อยู่ในลำดับมาก ( = 3.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปุริสเมธะ มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด ( = 3.66) รองลงมาคือ ด้านสัสสเมธะ ( =3.60) และน้อยที่สุดคือ ด้านวาชเปยยะ ( =3.32) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ (r = 0.249**) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสัสสเมธะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับปานกลาง ด้านปุริสเมธะและด้านสัมมาปาสะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ ส่วนด้านวาชเปยยะ มีความสัมพันธ์เชิงลบในลำดับต่ำ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ไม่ได้มีการวางแผนอัตรากำลังคนไว้เผื่ออนาคต พนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไปบรรจุจากบุคคลใกล้ชิด ไม่เปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นพนักงาน ผู้บริหารท้องถิ่นบางคนไม่ส่งเสริมพนักงานให้ไปเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ฉะนั้น ควรกำหนดกรอบพนักงานให้สอดคล้องกับงาน โดยวางแผนอัตรากำลังคนอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับการรับสมัครพนักงานก็ควรติดประกาศและ/หรือประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วไป จะต้องมีเกณฑ์ในการรับบุคคลเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ โดยรับทั้งจากบุคลากรภายในหรือภายนอกหน่วยงาน ส่งเสริมพนักงานให้เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนา

Sprachen

Thai

Verlag

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Problem melden

Wenn Sie Probleme mit dem Zugriff auf einen gefundenen Titel haben, können Sie sich über dieses Formular gern an uns wenden. Schreiben Sie uns hierüber auch gern, wenn Ihnen Fehler in der Titelanzeige aufgefallen sind.