Open Access BASE2019

THE USE OF THE 4 ITHI PRINCIPLES IN REGIONAL MANAGEMENT SI O, KUMPHAWAPI DISTRICT, UDON THANI PROVINCE ; การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

Abstract

The purpose of this research is (1) to study the use of the 4 Ithi principles in local management of Si-O Subdistrict Administrative Organization personnel. Kumphawapi District Udon Thani Province (2) to study and compare the use of the Ithi-4 principle in local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel Kumphawapi District Udon Thani Province and (3) to study guidelines for the development of the use of the 4 Ithi principles in local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel Kumphawapi District Udon Thani Province This research is an integrated research (Mixed method) with quantitative research (qualitative research) by distributing questionnaires. And qualitative research by interviewing, for quantitative. The samples used in the research are Si O Subdistrict Administrative Organization Personnel Kumphawapi District Udon Thani Province 97 people from the appropriate sampling by opening the table Kee and Morgan from a population of 128 people Using simple random sampling techniques by drawing lots and for qualitative research The sample group who provided the main information in the interview was the administrators of Si-O Subdistrict Administration Organization. Using the technique of sampling method using Purposive Random Sampling. The tools used in the research were questionnaires and interview form. Data were analyzed by computer program in social science program using frequency statistics. (Frequency) Percentage (average) ( ) Standard deviation (S.D.) Hypothesis test by data analysis One-way variance (One Way ANOVA) for interview form Analyze the content of the information described in the form of collationThe findings of a research study were found in the following aspects. Most respondents aged less than 35 years old, 32 people, representing 33.0 percent, having 32 lower education degrees, 33.0 percent and 29.9 percent of work experience. Personnel are using the 4 main principles of local authority in the management of local organizations in the overall level at a high level. With an average value equal to (X = 3.66). Personnel are using the 4 main principles of local authority in the management of local organizations. In every level By sorting the average value from descending to the topical side ( = 3.70), persistence ( = 3.69), mental side ( = 3.63) and side motivation ( = 3.62) respectively. Personnel with different age and work experience The use of the 4 Ithi principles in the management of local organizations is different with statistical significance at the level of 0.05. The personnel with different educational levels have the use of the 4 IIT principles in the management of local organizations. not different There is a guideline to develop the use of the principle of using the Ithi-4 principle in the local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel. Kumphawapi District Udon Thani province is 4.1. Aspect (satisfaction with existing things) needs to be used by personnel to use the satisfaction of what they have to consider in managing the local area thoroughly and making rational decisions in effective management. 4.2. Persistence (perseverance) requires the personnel to be sincere in local management and strengthen the responsibility of the personnel by using perseverance in each section of the work assigned to management 4.3. Jita (intentions of doing things) need to have personnel sacrificed in local management. For the benefit of the organization, enhancing the management potential, enhancing the understanding and consciousness of the personnel 4.4. In the field of discrimination (reasoning, reasoning), it is necessary for personnel to use consciousness to control emotions in the management of the assigned local area. Responsible together to create responsibility for each individual according to the assigned line, reinforce the character in a positive way. ; งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีและ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยการสัมภาษณ์, สำหรับเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 97 คน จากการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยการเปิดตาราง เคชี่และมอร์แกน จาก ประชากรจำนวน 128 คน ใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling)โดยวิธีจับฉลากและสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ ใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์โดยใช้สถิติความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบบทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูล ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สำหรับแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาอธิบายในรูปของความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 33.0 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 33.0 และมีประสบการณ์การทำงาน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ29.9 บุคลากรมีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.66) เมื่อพิจารณา ในรายด้านพบว่า บุคลากรมีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านฉันทะ ( = 3.70) ด้านวิริยะ ( = 3.69) ด้านจิตตะ ( = 3.63) และด้านวิมังสา ( = 3.62) ตามลำดับ บุคลากรที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษา ต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น ไม่แตกต่างกัน มีแนวทางพัฒนาการใช้หลักแนวทางการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี คือ 4.1. ด้านฉันทะ (ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรใช้ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่พิจารณาในการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นอย่างรอบครอบและทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล 4.2. ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายาม) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรมีความจริงใจในการบริหารจัดการท้องถิ่นและสร้างเสริมความรับผิดชอบในตัวบุคลากรโดยอาศัยความเพียรพยายามในส่วนของแต่ละบุคลตามสายงานที่ได้รับมอบหมายในการบริหารจัดการ 4.3. ด้านจิตะ (ความตั้งใจในสิ่งที่ทำอยู่) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรมีความเสียสละตั้งในในการบริหารจัดการท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ขององค์กรเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการเสริมสร้างความเข้าใจและจิตสำนึกในตัวของบุคลากร 4.4. ด้านวิมังสา (ความไตร่ตรองหาเหตุผล) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรใช้สติกำกับในการควบคุมอารมณ์ในการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย รับผิดชอบร่วมกันสร้างความรับผิดชอบในส่วนของแต่ละบุคคลตามสายงานที่ได้รับมอบหมายเสริมสร้างลักษณะนิสัยในทางบวก

Sprachen

Thai

Verlag

สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Problem melden

Wenn Sie Probleme mit dem Zugriff auf einen gefundenen Titel haben, können Sie sich über dieses Formular gern an uns wenden. Schreiben Sie uns hierüber auch gern, wenn Ihnen Fehler in der Titelanzeige aufgefallen sind.