Open Access BASE2018

Explaining EU-Turkey Cooperation on Syrian Refugee Crisis in 2015-2016: An Issue-Linkage Persuasion (ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับตุรกีในการแก้ไขวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวซีเรียระหว่างปี 2015-2016: การโน้มน้าวด้วยประเด็นที่เชื่อมโยงกัน)

Abstract

This paper attempts to examine EU-Turkey cooperation in 2015-2016 concerning the recentSyrian refugee crisis by employing a concept of issue-linkage persuasion. As a massive influx of Syrianrefugees into European countries in 2015 had triggered many European Union (EU) members to suspendSchengen and Dublin system unilaterally, it has recently caused the EU to rethink substantially about itscommon strategy to handle the crisis. The EU's paradox was whether it was able to break a dichotomybetween providing refugee protection and defending its socio-political security through securitization. Oneof the effective solutions to the crisis, however, was to contain the refugees in the third countries and Turkeywas designed by the EU-Turkey agreement in March 2016 to take such a role as an EU's strategic partner.Nonetheless, the cooperation between the two parties has not emerged as a given. It has been subject to astrategic interaction, which can be explained from a game theoretical perspective. In particular, a suasiongame demonstrates that an asymmetric power between two actors (North-South relations) plays animportant role in determining a payoff structure. As a rule, equilibrium is always in favor of the powerfulplayer, that is, while the EU's strategy was preferable to pass the buck, Turkey was pressured to containa huge number of the refugees in its soil. In this regard, it is argued in the paper that an issue-linkagepersuasion has been used in this case, when the situation fell into a negative-sum game, as a significanttool in fostering EU-Turkey cooperation on the Syrian refugee crisis by providing mutual incentives, sidepayments,and private interests. Once the EU manages to solve the crisis in its soil, it is likely that theEU-Turkey relations will swing back to its contentious politics. บทคัดย่อ บทความชิ้นนี้ศึกษาวิเคราะห์แบบแผนความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศตุรกีในการแก้วิกฤตผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในปี 2015-2016 โดยใช้แนวคิดเรื่องการโน้มน้าวผ่านประเด็นที่เชื่อมโยงกัน ในปี 2015 ขบวนผู้ลี้ภัยชาวซีเรียจำนวนมากได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่อาณาเขตของสหภาพยุโรปและทำให้ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องระงับการใช้ข้อตกลงเชงเกนและระบบดับบิลเป็นการชั่วคราว ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้สหภาพยุโรปต้องทบทวนยุทธศาสตร์การรับมือกับวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยอย่างเร่งด่วน ปัญหาหลักของสหภาพยุโรปในเวลาดังกล่าวคือทางแยกระหว่างการเลือกที่จะปกป้องผู้ลี้ภัยกับการรักษาความมั่งคงด้านการเมืองและสังคมด้วยการใช้นโยบายความมั่นคงภิวัฒน์ อย่างไรก็ดีแนวทางในการแก้วิกฤตดังกล่าวอย่างได้ผลคือการกักกันผู้ลี้ภัยไว้ในประเทศที่สาม ด้วยเหตุนี้ตุรกีจึงกลายเป็นประเทศกันชนให้กับสหภาพยุโรปจากการทำข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและตุรกีในเดือน มีนาคม 2016 อย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่างทั้งสองตัวแสดงไม่ได้เกิดขึ้นมาจากภาวะสุญญากาศ หากแต่ก่อกำเนิดมาจากการปฏิสัมพันธ์กันในเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งสามารถอธิบายได้ผ่านกรอบของทฤษฏีเกม กล่าวโดยเฉพาะ แนวคิดเกมการโน้มน้าว (suasion game) ชี้ให้เห็นว่าฐานอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างสองตัวแสดง (ความสัมพันธ์แบบกลุ่มขั้วเหนือและใต้) มีความสำคัญในการกำหนดโครงสร้างของผลตอบแทน ตามหลักการแล้ว จุดสมดุลของความสัมพันธ์ดังกล่าวมักจะอยู่ในสภาวะที่ผู้เล่นที่เป็นมหาอำนาจจะได้รับประโยชน์มากกว่า นั่นหมายความว่า ในขณะที่ยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปในการจัดการวิกฤตผู้ลี้ภัยคือการผลักภาระให้ประเทศอื่นนั้น ประเทศตุรกีจึงถูกกดดันให้รับกักกันผู้ลี้ภัยจำนวนมากให้อยู่ในประเทศตัวเอง ดังนั้นข้อถกเถียงในบทความนี้ชี้ให้เห็นว่าการโน้มน้าวด้วยกับประเด็นที่เชื่อมโยงกันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองในช่วงที่ผู้เล่นทั้งสองอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ติดลบ นอกจากนั้นเครื่องมือดังกล่าวยังถูกใช้เพื่อสร้างความร่วมมือกันระหว่างสหภาพยุโรปและตุรกีในการจัดการกับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียผ่านการแลกเปลี่ยนสิ่งจูงใจร่วม การจ่ายทดแทนและการให้ผลประโยชน์เฉพาะส่วน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและตุรกีมีแนวโน้มที่จะกลับไปสู่การเมืองที่ไม่ลงรอยกันเมื่อสหภาพยุโรปสามารถแก้วิกฤตดังกล่าวในภูมิภาคของตัวเองได้

Sprachen

Englisch

Verlag

ฝ่ายเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Problem melden

Wenn Sie Probleme mit dem Zugriff auf einen gefundenen Titel haben, können Sie sich über dieses Formular gern an uns wenden. Schreiben Sie uns hierüber auch gern, wenn Ihnen Fehler in der Titelanzeige aufgefallen sind.