The objectives of this research were: 1) to study the state of the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu (virtues making for national integration) of the administrators of local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province, 2) to study the relationship to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province, and 3) to study the problems, obstacles and suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province. This research applied the Mixed Methods Research consisting of the qualitative and quantitative research. The sample was 141 staffs at the municipality and local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province from 216 staffs with the table of Taro Yamane. The tools of the research were questionnaire with the 0.968 of reliability and in-depth interview from the 11 key informants. The analysis of data used Statistical Package for Social Science. The statistics for analysis data used Frequencies, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. Results of the Research Overall, the state of the human resource management of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province was at the high level ( =3.65). When considering each aspect, it was found that the human resource management in the planning was at the highest level ( =3.78). Then, it was the human resource management in the maintaining ( =3.65). However, the human resource management in the developing was at the lowest level ( =3.57). Moreover, the staffs had the opinion to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province in the research was at the high level ( =3.54). When considering each aspect, it was found that the human resource management in the Purisamedha (shrewdness in the promotion and encouragement of government officials) was at the highest level ( =3.66). Then, it was the human resource management in the Sassamedha (shrewdness in agricultural promotion) ( =3.60). However, the human resource management in the Vachapeyya (kindly and convincing speech) was at the lowest level ( =3.32). The relationship to the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province found that overall, the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the positive relationship at the low level (r = 0.249**). When considering each aspect, it was found that the human resource management according to Sassamedha of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the positive relationship at the middle level. The human resource management according to Vachapeyya of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province had the negative relationship at the low level. Therefore, the research hypothesis was accepted. The problems, obstacles and suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province found that the administrators did not plan the man power for the future. The staffs were recruited from the intimates. The administrators did not give the opportunities to the people having the knowledge and capability in the recruitment of the staffs. Some local administrators did not promote the staffs for the training. The suggestions for the human resource management according to the principles of Raja-Sangahavatthu of the administrators of the local administrative organizations in Thapkhlo District, Phichit Province were that the administrators should set the frame of the staffs suitable to the work by planning the man power continuously every year. The recruitment of the staffs should be announced, have the public relations thoroughly and specify the criterion by considering the knowledge and capability and recruiting the people within the organization and the other people. Moreover, the administrators should promote the staffs for the training and development. ; การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเทศบาลและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จำนวน 141 คน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 216 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 11 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในลำดับมาก ( = 3.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านการวางแผน มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด ( = 3.78) รองลงมาคือ ด้านการธำรงรักษา ( =3.65) และน้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนา ( =3.57) ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวม อยู่ในลำดับมาก ( = 3.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปุริสเมธะ มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด ( = 3.66) รองลงมาคือ ด้านสัสสเมธะ ( =3.60) และน้อยที่สุดคือ ด้านวาชเปยยะ ( =3.32) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ (r = 0.249**) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสัสสเมธะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับปานกลาง ด้านปุริสเมธะและด้านสัมมาปาสะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ ส่วนด้านวาชเปยยะ มีความสัมพันธ์เชิงลบในลำดับต่ำ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ไม่ได้มีการวางแผนอัตรากำลังคนไว้เผื่ออนาคต พนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไปบรรจุจากบุคคลใกล้ชิด ไม่เปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นพนักงาน ผู้บริหารท้องถิ่นบางคนไม่ส่งเสริมพนักงานให้ไปเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ฉะนั้น ควรกำหนดกรอบพนักงานให้สอดคล้องกับงาน โดยวางแผนอัตรากำลังคนอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับการรับสมัครพนักงานก็ควรติดประกาศและ/หรือประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วไป จะต้องมีเกณฑ์ในการรับบุคคลเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ โดยรับทั้งจากบุคลากรภายในหรือภายนอกหน่วยงาน ส่งเสริมพนักงานให้เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนา
The objectives of this research are: 1) to study the relation of the personal factors toward working behaviors of personnel in the Sub-district Administrative Organization in Muang Phichit District, Phichit Province, 2) to study the motivation, effected the working behaviors of employees, 3) to study the problems and the way to develop that motivation on working behaviors of personnel in the Sub-district Administrative Organization in Muang Phichit District, Phichit Province. This research used the mixed methods between quantitative and qualitative research. For the quantitative research, the sample survey were personnel in the Sub-district Administrative Organization in Muang Phichit District, Phichit Province, selected 224 person from 510 of population. The Simple random sampling by using Taro-Yamane and data were collected by using questionnaire with the entire confidence value was equal to 0.972. The data were analyzed by using Statistical Package for the Social Science research and the descriptive statistics consisted of Frequency, Percentage, Means and Standard Deviation. The hypothesis was examined by Chi-Square test and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The qualitative research applied In-Depth Interview from 18 key informants by collecting through the structured Interviews Form and analyzed through descriptive technique. The results revealed that The relationship between personal factors and performance behavior of personnel of sub-district administrative organizations in Mueang Phichit district Phichit Province found that personnel with gender, age, education level, position, duration of work income per month There was no relationship with the performance behavior of the sub- district administrative organizations in Mueang Phichit district. Pichit province. The relationship between motivation and performance Behavior of personnel of Sub –district Administrative Organizations in Mueang Phichit District Pichit province Found that overall motivation had a very high level of relationship (r= 0.861) when considering each aspect, it was found that there was a very high level of relationship 3 aspets in the discipline of work(r=0.844) human relations (r=0.818) and creativity (r=o.766) respectively and have a high level of relationship was the responsibility (r=0.74) With all aspects having a statistically significant relationship at 0.01 level. Guidelines for developing incentives that affect the performance behavior of personnel of the sub-district administrative organizations in Mueang Phichit District Phichit Province 1) policy and management guidelines should be established to cover all positions. 2) management should have a vision, open to listen to the opinions of the personnel and sincere in solving various problems 3) the duties and responsibilities should be defined appropriately and there were procedures for standardized operations, not overlapping 4) should allow personnel to be responsible for the task that was appropriate and open to the opportunity to use creativity to apply in the work without leaving the rules and regulations 6) In practice and evaluation of work, the moral system should be used for transparency. 7) the principles of good governance should be used in the implementation of the government to be more concrete. ; การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร วิธีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 224 คน จากประชากรทั้งหมด 510 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบแบบไค-สแคว์และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่าแรงจูงใจโดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก (r=0.861) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก 3 ด้าน ด้านวินัยในการทำงาน (r=0.844) ด้านมนุษยสัมพันธ์ (r=0.818)และด้านความคิดสร้างสรรค์ (r=0.766)ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์ในระดับสูง คือด้านความรับผิดชอบ (r=0.749) โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แนวทางพัฒนาแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 1) นโยบายและแนวทางการบริหารงานควรจัดทำให้ครอบคลุมทุกตำแหน่งหน้าที่ 2) ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรและจริงใจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 3) หน้าที่และความรับผิดชอบควรมีการกำหนดให้เหมาะสมและมีขั้นตอนในการการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน ไม่ทับซ้อนกัน 4) ควรให้บุคลากรรับผิดชอบงานที่ถนัดและเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานโดยไม่ออกนอกกรอบกฎ ระเบียบ 5) ส่งเสริมบุคลากรเข้าอบรมในงานที่ยังขาดความรู้ 6)ในการปฏิบัติและประเมินผลงานควรใช้ระบบคุณธรรมเพื่อความโปร่งใส 7) ควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติราชการให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
The purpose of this research is (1) to study the use of the 4 Ithi principles in local management of Si-O Subdistrict Administrative Organization personnel. Kumphawapi District Udon Thani Province (2) to study and compare the use of the Ithi-4 principle in local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel Kumphawapi District Udon Thani Province and (3) to study guidelines for the development of the use of the 4 Ithi principles in local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel Kumphawapi District Udon Thani Province This research is an integrated research (Mixed method) with quantitative research (qualitative research) by distributing questionnaires. And qualitative research by interviewing, for quantitative. The samples used in the research are Si O Subdistrict Administrative Organization Personnel Kumphawapi District Udon Thani Province 97 people from the appropriate sampling by opening the table Kee and Morgan from a population of 128 people Using simple random sampling techniques by drawing lots and for qualitative research The sample group who provided the main information in the interview was the administrators of Si-O Subdistrict Administration Organization. Using the technique of sampling method using Purposive Random Sampling. The tools used in the research were questionnaires and interview form. Data were analyzed by computer program in social science program using frequency statistics. (Frequency) Percentage (average) ( ) Standard deviation (S.D.) Hypothesis test by data analysis One-way variance (One Way ANOVA) for interview form Analyze the content of the information described in the form of collationThe findings of a research study were found in the following aspects. Most respondents aged less than 35 years old, 32 people, representing 33.0 percent, having 32 lower education degrees, 33.0 percent and 29.9 percent of work experience. Personnel are using the 4 main principles of local authority in the management of local organizations in the overall level at a high level. With an average value equal to (X = 3.66). Personnel are using the 4 main principles of local authority in the management of local organizations. In every level By sorting the average value from descending to the topical side ( = 3.70), persistence ( = 3.69), mental side ( = 3.63) and side motivation ( = 3.62) respectively. Personnel with different age and work experience The use of the 4 Ithi principles in the management of local organizations is different with statistical significance at the level of 0.05. The personnel with different educational levels have the use of the 4 IIT principles in the management of local organizations. not different There is a guideline to develop the use of the principle of using the Ithi-4 principle in the local management of Si O Subdistrict Administrative Organization personnel. Kumphawapi District Udon Thani province is 4.1. Aspect (satisfaction with existing things) needs to be used by personnel to use the satisfaction of what they have to consider in managing the local area thoroughly and making rational decisions in effective management. 4.2. Persistence (perseverance) requires the personnel to be sincere in local management and strengthen the responsibility of the personnel by using perseverance in each section of the work assigned to management 4.3. Jita (intentions of doing things) need to have personnel sacrificed in local management. For the benefit of the organization, enhancing the management potential, enhancing the understanding and consciousness of the personnel 4.4. In the field of discrimination (reasoning, reasoning), it is necessary for personnel to use consciousness to control emotions in the management of the assigned local area. Responsible together to create responsibility for each individual according to the assigned line, reinforce the character in a positive way. ; งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีและ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) โดยการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยการสัมภาษณ์, สำหรับเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 97 คน จากการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยการเปิดตาราง เคชี่และมอร์แกน จาก ประชากรจำนวน 128 คน ใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling)โดยวิธีจับฉลากและสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ ใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์โดยใช้สถิติความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบบทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ข้อมูล ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สำหรับแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาอธิบายในรูปของความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 33.0 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 33.0 และมีประสบการณ์การทำงาน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ29.9 บุคลากรมีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.66) เมื่อพิจารณา ในรายด้านพบว่า บุคลากรมีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านฉันทะ ( = 3.70) ด้านวิริยะ ( = 3.69) ด้านจิตตะ ( = 3.63) และด้านวิมังสา ( = 3.62) ตามลำดับ บุคลากรที่มีอายุและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษา ต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการองค์กรส่วนท้องถิ่น ไม่แตกต่างกัน มีแนวทางพัฒนาการใช้หลักแนวทางการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี คือ 4.1. ด้านฉันทะ (ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรใช้ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่พิจารณาในการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นอย่างรอบครอบและทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล 4.2. ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายาม) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรมีความจริงใจในการบริหารจัดการท้องถิ่นและสร้างเสริมความรับผิดชอบในตัวบุคลากรโดยอาศัยความเพียรพยายามในส่วนของแต่ละบุคลตามสายงานที่ได้รับมอบหมายในการบริหารจัดการ 4.3. ด้านจิตะ (ความตั้งใจในสิ่งที่ทำอยู่) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรมีความเสียสละตั้งในในการบริหารจัดการท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ขององค์กรเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการเสริมสร้างความเข้าใจและจิตสำนึกในตัวของบุคลากร 4.4. ด้านวิมังสา (ความไตร่ตรองหาเหตุผล) จำเป็นจะต้องให้บุคลากรใช้สติกำกับในการควบคุมอารมณ์ในการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย รับผิดชอบร่วมกันสร้างความรับผิดชอบในส่วนของแต่ละบุคคลตามสายงานที่ได้รับมอบหมายเสริมสร้างลักษณะนิสัยในทางบวก
The objectives of this research were: 1) to study the model of good governance of Sub-district Administration Organization in KraiNok, Kong KraiLat District, Sukhothai Province, 2) To study the opinions on the good governance of Krai Nok Sub-district Administration Organization in Kong Krailat District Sukhothai Province By classified by personal factors 3) To study guidelines for the development of a good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization in Kong Krailat District Sukhothai Province according to good governance principles. This research used the mixed methods between the quantitative and qualitative research. For quantitative research was a survey conducted with 370 persons from 4,444 persons of the population. Simple random sampling was applied by using Taro-Yamane. Data were collected by the questionnaires and were analyzed by using Statistical Package for the social science research. The statistic tools for analyzing the common data of population were Frequency and Percentage. The statistic tools to analyze the opinions' level toward the strategy to improve the quality of life of people in the Sub-district Administration Organization in KraiNok, Kong Krai Lat District, Sukhothai Province were Frequency, Percentage, Means, Standard Deviation and tested the hypothesis by describing the personal factors. F-test and T-test were used for testing of variance as well as pair-wise comparison. repeated-measure One Way ANOVA and Least Significant Difference were used for analyzing the data. For Qualitative research, In-Depth Interview with 14 key informants was used to analyze the data and using the context clues technique by descriptive content analysis. The results revealed that 1) In research on the good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization Kong Krailat District Sukhothai Province By McKinsey's 7-S model, the people's opinion on the good governance model found that the overall view was at a high level (= 4.07, S.D. = 0.568) when considered In each aspect, namely the structure of the strategy, the personnel system, the skills leader and the value found that the opinions of the people were at a high level in all aspects 2) The results of people's opinion towards good governance model of Krai Nok Sub-district Administration Organization Kong Krailat District Sukhothai Province classified by personal factors such as gender, age, education, occupation and income, found that people with different incomes there were different opinions with statistically significant at 0.01 level. Therefore, accepting research hypotheses. For gender, age, education and occupation was different, affecting opinions on good governance model not different, therefore rejected the research hypothesis. 3) good governancemodel of Krai Nok Sub-district Administration Organization outside the district Kong Krailat, Sukhothai Province According to good governance principles, such as 1) There should be an analysis of the current situation of the organization before creating a plan every time to bring weaknesses, strengths, opportunities, and threats in accordance with the problems and various environmental conditions that are constantly changing 2) The executives and the head of the department should decentralize decision-making and allow personnel to participate in proposing new ideas or ideas in policy formulation. Which will lead to more efficient and effective operations 3) Provide funding personnel development is always In order to increase skills and efficiency, knowledge and ability to perform duties in the duty better by encouraging continuous development of human resources 4) Should add enough personnel to work and should set up an evaluation system to measure the performance of personnel seriously and continuously to help identify weaknesses in the administration that will be useful for further development and 5) There should be more public relations work. ; การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหาร ส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 370 คน จากประชากรทั้งหมด 4,852 คนสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.997 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 14 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยตัวแบบ 7-S ของแมคคินซีย์ความคิดของประชาชนเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.07, S.D. = 0.568) เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน คือ ด้านโครงสร้างด้านกลยุทธ์ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านผู้นำด้านทักษะ และด้านค่านิยม พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลคือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย 3. รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีได้แก่ 1) ควรมีการวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันขององค์การก่อนการจัดทำแผนงานทุกครั้งเพื่อนำผลวิเคราะห์ที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็งโอกาสและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับปัญหาและสภาวะแวดล้อมด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2) ฝ่ายบริหารและหัวหน้าส่วนงานควรกระจายอำนาจการตัดสินใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการกำหนดนโยบาย อันจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3) จัดหาทุนสนับสนุน การพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลย่างต่อเนื่อง 4)ควรเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และควรจัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อวัดผลการทำงานของบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อช่วยชี้จุดอ่อนในการบริหารงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 5) ควรมีการประชาสัมพันธ์การทำงานให้เพิ่มมากขึ้น
The study entitled "policy and mechanism in elders' wellness enhancement of Phayao local administrative organization" aimed at studying policy, mechanism and process in elders' wellness promotion, to analyze the process how to make policy and mechanism for elders' well-being enhancement, and to investigate problems and obstacles in taking care of seniors in the local administration organization in Amphue Muang, Phayao. Population that were important informants in an in-depth interview were 3 three chief executives consisting of the chief executive, the chief administrator of the Phayao provincial administrative organization, The caregiver of the elderly health promotion program, the chief executives of the Maeka sub-district administrative organization, Ban Tom sub-district administrative organization with purpose sampling , specifically, Phayao provincial administrative organization, Maeka sub-district municipality, and Ban Tom sub-district administration organization and key informants in focus group discussion with 15 purposive sampling of experts, divided into 4 groups, namely three administrators of local government organizations, 3 Buddhist monks, 3 seniors and a group involved with older school, such as teachers and 6 high school administrators. Research tools in the study include an in-depth interview and focus group discussion. Data analysis was carried out based on two types of research techniques: in-depth interview data employing content analysis, using 6c technique for content synthesis, and dialectic process (dp) for content analysis consisting of 4 aspects and all of which were analyzed and synthesized, along with a summary of the research and a descriptive discussion. The research indings were as follows: 1. Mechanism and process of enhancing elders' health of local administrative organizations in Muang district, Phayao: (i) policy: the determined policy is broadly announced and consistent with and linked to the constitutional law to the development plan of the local government organization, also in accordance with the mission, goal or purpose for development. for details on the operations related to the elders' wellness, they are formulated in the strategies. (ii) mechanism: the three developmental mechanisms in three institutions have developed a three-year strategic development plan with a mechanism, a main responsible department consisting of a committee or a subcommittee, funds and projects related for enhancing the well-being of the elders. (iii) the process of enhancing the health of the seniors: in the process of enhancing the health of the elders, there are 3 types of actuations, namely, the process of implementing the project with participation if the community in all sectors of Maeka municipality based on the resources with 4m management and the process of enhancing the health of ban tom municipality emphasizing self-reliance of the elderly group, carrying out activities in the form of an elderly club, a welfare provision, a provision of an environment ideal for the well-being of the elderly people, and a building up knowledge by providing knowledge training and health promotion among elderly people. 2. A creation of mechanisms, policies and processes to enhance the well- being of the seniors in the local administrative organizations, in Muang district, Phayao: creating mechanisms, policies, and processes to enhance the well-being of the elderly group of the local administrative organization in Muang district, Phayao, is consistent with and linked to the constitutional law and the state's policies on the elders' wellness that leads to the implementation of the national economic and social development plan, to the ministry of public health, department of local administration, Phayao provincial development plan, local development plan, local government organizations in Phayao. 3.Problems and obstacles in elderly care in local administrative organizations in Muang district, Phayao: (i) Phayao provincial administration organization: the problems and obstacles in elderly care in Phayao provincial administration organization are the provincial level ones. most of the problems will be solved jointly with the local government in the area of implementation with a solution of case-by-case assistance. (ii) Maeka municipality, and Ban Tom municipality: with regard to the barriers for taking care of the seniors in the local administrative organizations. in the district of Muang Phayao province, there are four types of health problems, including physical health with residence of ill condition, social well-being with social problem in elderly society, building an understanding, accessing and participating in policy etc., mental well-being with mental health issues and stress, and intellectual well-being i.e. lacking of learning management, knowledge management, and deficiency of integration. ; บทความเรื่อง นโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ วิเคราะห์การสร้างนโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ และศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยาประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (In-Depth Interview) ผู้บริหาร 3 คนประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และผู้ดูแลโครงการ กิจกรรม งานผู้สูงอายุ นายกเทศมนตรีตำบลแม่กา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้ โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะองค์การบริหารจังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลแม่กาและองค์การบริหารส่วนตำบลดอกคำใต้ ที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุ และประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) ผู้วิจัยได้กำหนดผู้เชี่ยวชาญโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 15 รูป/คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน กลุ่ม พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 3 รูป กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า นโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่า นโยบายองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่กำหนดจะประกาศไว้อย่างกว้างๆ และสอดคล้องเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญจนถึงแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสอดคล้องกับพันธกิจ (Mission) มีการกำหนดเป้าประสงค์ (Goal) หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา สำหรับรายละเอียด การดำเนินงานที่เกี่ยวกับสุขภาวะผู้สูงอายุจะกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ โดยมีระบบคือแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา และแผนพัฒนา 3 ปี เป็นระบบในการบริหารจัดการองค์กร และมีกลไก คือ หน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบ มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ มีกองทุน งบประมาณ และมีโครงการที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ในส่วนของกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เป็นการดำเนินงานอยู่ 3 ลักษณะ คือกระบวนการดำเนินงานตามโครงการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนของเทศบาลตำบลแม่กา โดยมีทรัพยากรในการบริหารจัดการแบบ 4 M และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มุ่งให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพิงตนเอง และร่วมกันดำเนินกิจกรรมในรูปของชมรมผู้สูงอายุ การจัดกองทุนสวัสดิการให้และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงอายุ และการสร้างองค์ความรู้โดยการจัดอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่า การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น โดยมีวัดจึงเป็นศูนย์กลางของการฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ และการพึ่งพิงทางจิตใจมากกว่าองค์กรอื่นๆ มีพระสงฆ์เป็นหลักในการดำเนินการ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด และคณะสงฆ์ ให้ความอนุเคราะห์ด้านงบประมาณดำเนินการ มีพระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น ครู อาจารย์ ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุของค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น เป็นวิทยากรจิตอาสา ปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่า ระดับนโยบาย : การกำหนดนโยบายในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ มีการกำหนดนโยบายไว้อย่างกว้าง ไม่ชัดเจน ไม่เด่นชัด ส่งผลให้การนำไปสู่ภาคปฏิบัติเป็นไปได้ยากขึ้น ในทุกมิติ ระดับองค์กร : การดำเนินการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุยังไม่เป็นระบบ และไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งขาดการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาวะผู้สูงอายุกับการพัฒนาทางปัญญา ซึ่งจะส่งผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในทุกมิติ ระดับบุคคล : ขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาวะทั้ง 4 มิติ ส่งผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุทำได้ไม่เต็มที่และต่อเนื่อง